วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ไซดักปลา

โครงการวิจัยและพัฒนาเว็บบล็อกเกอร์ ไซดักปลา


ในวิถีชีวิตของชาวบ้านในท้องถิ่นมีความเป็นอยู่ต่างกันกับชีวิตคนในเมือง ใช้ชีวิตในแต่ละวันอย่างไม่เร่งรีบอาหารการกิน ส่วนมาก็จะหาจากสัตว์ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา มาทำกินเอง ปลูกผักกินเองแล้วนำมาปรุงอาหาร เมื่อต้องออกไปหาอาหาร จับปลา จึงคิดค้นเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำต่างๆ ขึ้นมาหลายแบบ เช่น ไซดักปลา เบ็ดตกปลา บั้งดักปลาไหล สุ่ม เป็นต้น เครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ เป็นวัสดุที่ใช้ทำก็ล้วนมากจากไม้ในท้องถิ่นทั้งนั้น เป็นความฉลาดอย่างยิ่งของชาวบ้าน ที่ได้ประดิษฐ์ทำเครื่องมือจับสัตว์น้ำขึ้น
หมู่บ้านห้วยไผ่ อ.ภูกระดึง จ.เลย มีการทำการจักสานเครื่องมือดักจับสัตว์น้ำหลยชนิด แต่ที่มีชื่อเสียงมากก็คือ การทำไซดักปลา ไซดักปลานี้วัสดุที่ทำก็มาจากไม้ไผ่ ซึ่งมีอยู่มากในหมู่บ้านห้วยไผ่ ชาวบ้านที่หมู่บ้านนี้จะทำการจักสานไซส่วนมาจะเป็นคนที่มีอายุมากแล้ว ไม่ได้ออกไปทำงานข้างนอกก็จะหาเวลาว่างทำการจักสานอยู่ที่บ้าน ในแต่ละครัวเรือนก็จะมีไว้ใช้เอง ต่อมาก็มีการจักสานได้จำนวนมากขึ้นและไซดักปลาขแงหมู่บ้านห้วยไผ่ก็มีคุณภาพดี แข็งแรง ทนทาน จึงมีแรจักสานการทำเพื่อจำหน่ายด้วย โดยชาวบ้านจะรวมกลุ่มกันแล้วจัดตั้งร้านจำหน้ายเครื่องมือจับสัตว์น้ำขึ้น เพื่อให้ชาวบ้านนำสิ่งที่ตนเองจักสานขึ้นมาส่เงให้กับร้านนี้ แล้วเปิดจำหน่ายให้กับลูกค้าต่อมาเป็นเวลาหลายปีที่ศูนย์จำหน่ายเครื่องมือดักจับสัตว์น้ำโดยเฉพาะ "ไซดักปลา" ของชาวบ้านห้วยไผ่ได้มีชื่อเสียงมาจนถึงทุกวันนี้
ดังนั้นกลุ่มผู้วิจัย จึงทำการวิจัยเครื่องมือจับสัตว์น้ำของชาวบ้านห้วยไผ่ และวิถีชีวิตของชาวบ้านห้วยไผ่ เพื่อได้รู้ลึกถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวบ้าน



วัตถุประสงค์

1. เพื่อประกอบการศึกษาและวิจัย
2. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมอีสาน
3. เพื่อทราบวิธีการดักจับสัตว์น้ำ
4. เพื่อรู้ถึงวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น
5. สามารถเผยแพร่ให้ผู้อื่นทราบได้


เป้าหมาย

1. เพื่อพฒนาความรู้ของผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ให้กับชุมชน
3. เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้
4. เพื่อไมให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสูญหาย
5. เพื่อให้ทุกคนได้ทราบถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นขิงภาคอีสาน



เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน

1. คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง
2. เครื่องปริ๊นท์ 1 เครื่อง
3. แฟรชไดร์ 1 อัน
4. กระดาษ A4 1 ริม
5. ชุดเครื่องเขียน 1 ชุด




งบประมาณ

1. กระดาษ A4 115 บาท
2. ชุดเครื่องเขียน 20 บาท
3. ค่าหมึกพิมพ์ 100 บาท
รวม 235 บาท



วิธีการดำเนินงาน

1. เขียนแบบเสนอโครงการ
2. วิเคราะห์รวบรวมข้อมูล
3. จัดทำเอสารคู่มือเป็นรูปเล่มและแผ่นผับ
4. เสนอโครงการและสร้างในเว็บล็อกเกอร์



ระยะเวลาการดำเนินงาน
ระยะเวลาการดำเนินงานเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552
1. เขียนแบบเสนอโครงการ สัปดาห์ที่ 1-2
2. วิเคราะห์รวบรวมข้อมูล สัปดาห์ที่ 2-4
3. จัดทำเอกสารคู่มือเป็นรูปเล่มและแผ่นผับ สัปดาห์ที่ 5-6
4. นำเสนอโครงการและสร้างเว็บบล็อกเกอร์ สัปดาห์ที่ 7


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. มีความรู้ความเข้าใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. มีความรู้ความเข้าใจในการจับปลาโดยใช้ไวดักปลา
3. มีความรู้ความเข้าใจในการทำไซดักปลาของชาวบ้านในหมู่บ้านห้วยไผ่
4. มีความรู้ความเข้าใจในวิถีชีวิตของชาวบ้าน ในการที่รวมกลุ่มอยู่ด้วยกัน
5. ได้ใช้ความรู้ในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นขิงชาวบ้านให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง


อภิธานศัพท์เฉพาะ

ไซ หมายถึง เครื่องมือดักจับปลา ทำจากไม้ไผ่ เหลาเป็นเส้นเล็กๆ ยาวๆ นำมาจักสานขึ้นเป็นเป็นทรงคล้ายท่อ ยาวประมาณ 1.5 เมตร